Header Image
ข้อมูลทั่วไปจังหวัด
watermark

ประวัติความเป็นมาจังหวัดลำพูน

       จังหวัดลำพูน เดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤาษีวาสุเทพ เป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตร หรือ ชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวง และแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญ ราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม “จามเทวี” มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชย สืบราชวงศ์กษัตริย์ ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พ่อขุนเม็งรายมหาราช ผู้รวบรวม แว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา เมืองลำพูน ถึงแม้ว่า จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรีเจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัย เมืองลำพูนจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครอง สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

 

“เมืองโบราณหริภุญไชย” อาณาจักรอันรุ่งเรืองและเก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ แบ่งเป็น ๔ ยุค คือ

   

  • ยุคประวัติศาสตร์แรกเริ่ม
  • ยุคหริภุญไชย
  • ยุคล้านนา
  • ยุคต้นรัตนโกสินทร์

 

“ยุคก่อนประวัติศาสตร์”

      นครในตำนานถึงบ้านวังไฮก่อนที่จะเป็นเมืองลำพูณหรืออาณาจักรหริภุญไชย ในอดีตดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำปิง น้ำปิงน้ำกวงผืนนี้ เคยมีชื่อว่า “สมันตรประเทศ”มาก่อน เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงหลังพุทธกาลเล็กน้อยหรือราว ๒,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา ว่าด้วยเรื่องราวของนักพรตฤษีที่เดินทางไกลมาจากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิ ได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพราหมณ์ ต่อมาได้ผสมเผ่าพันธุ์กับคนพื้นเมือง ก่อกำเนิดชุมชนกลุ่มแรกกลายเป็นบรรพบุรุษของชาว“ลัวะ”เม็ง” (มอญ) ณ ริมฝั่งแม่ระมิงค์ (แม่น้ำปิง)หลักฐานที่รองรับยืนยันถึงการมีอยู่จริงของมนุษย์ยุคก่อนอาณาจักรหริภุญไชย ได้แก่ โครงกระดูกที่ขุดพบ ณ บ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งนักโบราณคดีได้ทำการศึกษาพบว่ามีอายุระหว่าง ๒,๘๐๐ - ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว จัดเป็นมนุษย์ในยุคก่อนประวติศาสตร์ตอนปลายที่รู้จักประเพณีฝังศพด้วยการอุทิศสิ่งของให้ผู้ตายไว้ใช้ในปรโลก รู้จักทำเกษตรกรรม และตั้งหลักแหล่งไม่เร่ร่อนมีการติดต่อกับภายนอกทั้งซีกโลกตะวันตกคือกลุ่มของพ่อค้าอินโด-โรมัน เห็นได้จากการพบลูกปัด สร้อยกำไบในหลุดศพทำด้วยหินควอทซ์ และซีกโลกตะวันออก คืนกลุ่มของอารยธรรมดองซอน กวางสี แถบเวียดนามเหนือและจีนใต้ ซึ่งได้นำเอาเครื่องประดัยที่ทำด้วยสำริดมาแลกเปลี่ยนค้าขาย ชนกลุ่มนี้ต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประชากรในแคว้งหริภุญไชยอีก ๑,๐๐๐ ปีต่อมา

     กำเนิดมนุษย์ถ้ำสู่สัญลักษณ์ภาพเขียนสีเมืองลำพูนมีสภาพภูมิศาสตร์สองลักษณะ กล่าวคือบริเวณอำเภอเมือง บ้านธิ ป่าซาง และเวียงหนองส่อง เป็นเขตที่ราบลุ่มริมน้ำประเภท “ดินดำน้ำชุ่ม” ส่วนอำเภอแม่ทา-ทุ่งหัวช้าง-ลี้และบ้านโฮ่งเป็นเขตของเทือกเขาสูงชัน โดยมากเป็นหินปูนมี่ทำเลที่ตั้งเหมาะแก่การตั้งหลักแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคหินซึ่งต้องใช้เพิงผาถ้ำไม่ไกลจากแหล่งทเป็นที่กำบังกาย จากหลักฐานที่ค้นพบใหม่ล่าสุดในปี พ.ศ.๒๕๕๒ ณ ดอยแตฮ่อดอนผาผึ้ง ต.ป่าพูล อ.บ้านโฮ่ง และดอยผาแดง กับดอยนกยูง ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ รวมถึงการขูดขีดเพิงผาหินเป็นรูปรอยเท้าแบบ Rock Art ณ ด้านหลังวัดดอยสารภี อ.แม่ทา ได้พบล่องรอยของมนุษย์ยุคหินกลางถึงยุคหินใหม่มีอายุราว ๑,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว คนกลุ่มนี้นับถือผี วิถีเร่ร่อนย้ายถิ่นฐานตามฤดูกาล บูชาอำนาจเหนือธรรมชาติที่มองไม่เห็น (Animism) สามารถผลิตเครื่องมือขวานหิน-ใบหอกเป็นอาวุธ ข้อสำคัญรู้จักเขียนภาพบนผนังถ้ำด้วยสีแดง สีที่ใช้มีส่วนผสมของเลือดนกพิราบ ไข่ขาว กาวยางหนังสัตว์หรือสามารถสื่อสัญลักษณ์ด้วยการใช้ขวานหินขูดขีดลวดลาย ภาพเหล่านี้สท้อนถึงความเชื่อเรื่องการบูชารอยเท้า งานพิธีกรรมฝังศพ การตัดไม้ข่มนามก่อนการออกล่าสัตว์ ต่อมาเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักใช้ไฟฟ้า ทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคจากเนื้อดิบเป็นปรุงอาหารให้สุก มีการปั้นภาชนะดินเผาสำหรับใส่กระบอกธนูหม้อกระดูก มีการตกแต่งขูดขีดผิดภาชนะเป็นรูปงูไขว้ ในที่สุดเริ่มตั้งแต่ยุคเร่ร่อน มีการเลือกผู้นำเผ่าและเข้าสู่ยุคสังคมเกษตร ราว ๓,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา

 

 

“ยุคหริภุญไชย”

 

หริภุญไชย ปฐมอารยนครแห่งล้านนาหริภุญ

       ไชยนคมีฐานะเป็นราชธานีแห่งแรกของภาคเหนือ เป็นรากฐานอารยธรรมอันเจริญรุ่งเรืองสูงสุดส่งในทุกๆด้านให้แก่อาณาจักรล้านนานับตั้งแต่ด้านพุทธศาสนา เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ศิลปกรรม วัฒนธรรม การทหาร ดังมีหลักฐานยืนยันจากศิลาจารึก ตำนาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ ฯลฯ ปฐมอารยนครแห่งนี้เป็นบ่อเกิดแห่งการประดิษฐ์อักขระมอญโบราณในพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๗ พบจำนวนมากถึง ๑๐ หลักเรื่องราวจากศิลาจารึกแสดงถึงอัจฉริยภาพด้านการปกครองและความรุ่งเรืองทางศาสนาอักษรมอญโบราณเหล่านี้ส่งอิทธิพล ด้านรูปแบบอักขระให้แก่อักษรในพุกาม สะเทิมรวมไปถึงอักษรพม่าและมอญที่ใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้แล้วยังเป็นต้นกำเนิดลายสือไท สมัยสุโขทัยในอีก๔๐๐ปีต่อมา และอักษรธรรมล้านนาให้แก่ชาวไทยภาคเหนือ (ไทยวน) และต่อมาได้แพร่หลายไปสู่อักษรไทลื้อ ไทอาหม ไทใหญ่ หริภุญไชยนครมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งและเป็นที่เลื่องลือในกลุ่มชนชาวตะวันออกเฉียงใต้อันได้แก่ พุกาม นครวัต (เขมร) จำปา ศรีวิชัย นครศรีธรรมราช ละโว้ และจีน หริภุญไชยได้กลายเป็นยุทธศาสตร์นครที่หลายๆแคว้นได้เข้ามาเยือนเพื่อสร้างสัมพันธไมตรีทางการทูต ทางการค้า ทางสวัสดิการสังคมความเป็นอยู่สู่ความเห็นพ้องทางด้านวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าด้วยเหตุนี้ ศิลปวัฒนธรรมสมัยหริภุญไชยจึงเป็นผสมผสานศิลปะอันมีค่าได้อย่างลงตัว กษัตริย์ในราชสกุลจามเทวีวงศ์แห่งหริภุญไชยนคร ได้ครองราชสมบัติยาวนานสืบเนื่องต่อมาราว ๖๒๐ ปี มีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้นประมาณ ๕๐ พระองค์

 

สงครามสามนครสู่สายสัมพันธ์มอญหงสาวดี

        เมื่อหริภุญไชยนครผ่านกาลเวลามาได้สามศตวรรษ รัฐละโว้เมืองแม่แต่เดิมเคยเป็นเครือข่ายทวารวดีได้ถูกปกครองโดยขอม ทำให้ละโว้กลายเป็นศัตรูกับหริภุญไชย ยุคนี้รัฐทางใต้มีการแผ่แสนยานุภาพจากชายฝั่งทะเลมาสู่เขตที่ราบลุ่มภูเขาตอนในเพื่อขยายเส้นทางการค้าหลายระลอกทำให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ระหว่าง “นครศรีธรรมราช-ละโว้-หริภุญไชย” จนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้ากมลราชนครหริภุญไชยเกิดโรคห่าครั้งใหญ่ประชาชนชาวมอญหริภุญไชยอพยพหนีไปอยู่เมืองหงสาวดี และสะเทิม(สุธรรมวดี) เป็นเวลา ๖ ปี เมื่อสร่างจากโรคระบาดได้นำเอาชาวมอญ-หงสาวดีและมีการถ่ายเททางอารยธรรมระหว่างชาวแม่ระมิงค์กับลุ่มน้ำสาละวิน จนเกิดประเพณีลอยหะโมด ในฤดูน้ำหลาก อันเป็นต้นกำเนิดของประเพณีลอยกระทงของสุโขทัยปัจจุบันชาวมอญจากหงสาวดียังคงตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองคู่ เวียงเกาะกลาง ต.บ้านเรือน อ.ป่าซาง จ.ลำพูน และบ้านต้นโชค บ้านหนองคอบ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ด้วยการรักษาขนบธรรมประเพณีชาวมอญ

 

สววาธิสิทธิ กษัตริย์ผู้ทรงธรรม

      พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ถือว่าเป็นยุครุ่งเรืองของความเจริญทุกๆด้าน ประวัติศาสตร์ยุคนี้มีความชัดเจนขึ้นทีละน้อยๆ ไม่เพียงแต่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีอย่างมากมายเท่านั้น หากยังอ้างอิงได้ถึงหลักฐานทางด้านอักขระ กล่าวคือมีการพบศิลาจารึกอักษรมอญ-โบราณมากที่สุดในประเทศไทยหลังจากยุคของพญาอาทิตยราช มหาราชแห่งหริภุญไชยนครผู้ทรงขุดพบพระธาตุ และกระทำการสถาปนาพระบรมสารีริกธาตุกลางมหานครขึ้นเป็นศูนย์รวมความศรัทธาครั้งแรกของภาคเหนือแล้ว พระราชโอรสของพระองค์ คือพระเจ้าธรรมิกราชาได้สร้างพระอัฏฐารส(พระยืนสูง ๑๘ ศอก) ที่วัดอรัญญิการาม (วัดพระยืน) จนถึงยุคสมัยของพญาสววาธิสิทธิ หรือพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์ผู้ทรงผนวช ระหว่างครองราชย์ ทรงถวายพระราชวังเชตวนาลัยให้สร้างวัดเชตวนาราม (วัดดอนแก้ว) ทรงผนวชพร้อมมเหสีและโอรส ทรงสร้างต้นโพธิ์และประกาศเชิญชวนประชาชนให้ค้ำจุนต้นโพธิ์ถือเป็นต้นแบบของกษัตริย์ในยุคต่อมาที่ดำเนินรอยตามในส่วนของการกัลปนาวังเพื่อสร้างวัด การผนวชขณะครองราชย์ และประเพณี “ไม้ก๊ำสะหลี” ของชาวล้านนาต่อมา

 

อรุณรุ่งแห่งพุทธประทีป

        ก่อนยุคหริภุญไชยนครคนพื้นเมืองชาวลัวะดั้งเดิมเคยบูชาผีแถน ผีบรรพบุรุษที่เรียกว่า “ผีปู่แสะย่าแสะ” มีการบูชาเสาสะกัง หรือเสาอินทขีล ต่อมายอมรับเอาศาสนาพราหมณ์จากฤษีนักพรต ล่วงสู่ยุคหริภุญไชยจึงมีการสถาปนาศาสนาพุทธแห่งแรกของภาคเหนือ กระทั่งเปลี่ยนเป็นนิกายลังกาวงศ์ รามัญวงศ์ ฯลฯ ศาสนาทุกลัทธิในหริภุญไชยนคร ได้รับการผ่องถ่ายไปสู่เมืองอื่นๆ ทั้งในล้านนา ล้านช้าง สิบสองปันนา ลำแสงแรกแห่งพระพุทธศาสนารุ่งเรืองไสวขึ้นนับตั้งแต่ได้มีการขุดพบพระบรมสารีริกธาตุในส่วนของพระเกศาธาตุ ณ บริเวณวัดพระธาตุหริภุญไชยปัจจุบัน ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ทรงสถาปนาพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้นแห่งแรกในภาคเหนือ โบราณราชประเพณีกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์จักต้องมากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์แห่งนี้ก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีหลักฐานปรากฏว่าแม้แต่หลวงจีนทิเบตในแต่ละปีก็ต้องจารึกแสวงบุญด้วยการมาสักการะพระมหาธาตุเจดีย์หริภุญไชยสะท้อนว่าเมืองลำพูนคือศูนย์กลางของพุทธศาสนาแห่งลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ตลอดจนลุ่มน้ำ โขง-สาวะวิน ตราบถึงวันนี้ ลำพูนได้กลายเป็นศูนย์รวมอารยธรรมทางพุทธศาสนาแห่งอาณาจักรล้านนา ซึ่งศาสนสถานที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันได้แก่ วัดพระธาตุหริภุญชัย วัดพระพุทธบาทตากผ้าในอำเภอป่าซาง และวัดพระพุทธบาทห้วยต้มในอำเภอลี้ เป็นต้น องค์พระบรมเจดีย์ในวัดพระธาตุหริภุญชัยเชื่อว่าเป็นพระเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดโดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงยกย่องและสถาปนาพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้พร้อมทั้งได้จารึกไว้ว่าเป็นพระเจดีย์องค์หนึ่งในแปด พระบรมธาตุเจดีย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย วัดพระธาตุหริภุญชัยยังได้ชื่อว่า เป็นพระบรมธาตุเจดีย์ประจำราศีของผู้เกิดปีระกาอีกด้วย

 

จามเทวี : แม่เมือง-มิ่งเมือง

          ภายหลังจากการล่มสลายของเมือง “สมันตรประเทศ” ด้วยการขาดผู้นำที่ทรงคุณธรรม กลุ่มนักพรตฤษีผู้มีบทบาทในการสร้างเมืองตั้งแต่เริ่มแรก ได้กอบบ้านกู้เมืองข้นมาใหม่ในราวปี พ.ศ.๑๒๐๔ เฉลิมนามว่า “หริภุญไชยนคร” โดยได้อัญเชิญราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้นามว่า “พระนางจามเทวี” มาเป็นปฐมกษัตริย์ในปี พ.ศ.๑๒๐๖ พระนางทรงนำเอาอารยธรรมชั้นสูงแบบทวารวดีขึ้นมาทางแม่น้ำปิงสู่ดินแดนภาคเหนือของไทยเป็นครั้งแรกทรงรวบรวมชนพื้นเมืองกลุ่มต่างๆเข้าด้วยกันภายใต้การปกครองแบบทศพิธราชธรรมทรงประกาศพระพุทธศาสนาให้เลื่องลือไกลด้วยการสร้างวัดวาอารามกระจายทั่วดินแดน อีกทั้งยังทรงขยายอาณาเขตความเจริญไปยังลุ่มน้ำต่างๆ อาทิเมืองเขลางคนคร-อาลัมพางค์(ลำปาง) แห่งลุ่มน้ำวัง เวียงเถาะ เวียงท่ากาน เวียงมะโน เวียงฮอด บั้นปลายพระชนม์ชีพทรงสละราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสฝาแฝด “เจ้ามหันตยศ เจ้าอนันยศ” ให้ครองแควันหริภุญไชย-เขลางคนครสืบมา ในขณะที่พระองค์ทรงครองศีลอุบาสิกา คุณงามความดีที่ทรงกระทำไว้เป็นที่ขจรขจายมีมากเกินคณานับ จนได้รับฉายาว่าเป็น”พระแม่เมือง-พระมิ่งเมือง” ของชาวเมืองหริภุญไชย

 

 

“ยุคล้านนา”

       ยามสิ้นแสงอัสดงคตหริภุญไชยนครผ่านกาลเวลอันรุ่งโรจน์มานานถึงหกศตวรรษด้วยกิตติศัพท์ความอุดมสมบรูณ์มั่งคั่งของคราทำให้เป็นที่หมายปองของ “พญามังราย” เจ้าผู้ครองแคว้น “หิรัญนครเงินยาง”แถบเมืองเชียงราย ปี พ.ศ.๑๘๒๔ พญามังรายได้ยกกองทัพอันแข็งแกร่งมาเผาแคว้นหริภุญไชยจนวายวอด ในสมัย “พญายีบา” แต่พญามังรายก็ไม่ประทับอยู่ที่เมืองหริภุญไชย โดยให้เหตุผลว่าเป็นเมืองพระธาตุ อีกเหตุผลหนึ่งชัยภูมิไม่เหมาะเป็นเป็นเมืองขนาดเล็ก การขยายตัวของเมืองเป็นไปได้ยากจึงให้อ้ายฟ้าหรือขุนฟ้าครองเมืองหริภุญไชยแทนและย้ายราชธานีใหม่ไปอยู่ที่ “เวียงชะแว่” หรือ “เวียงแจ้เจียงกุ๋ม”และย้ายไปอยู่ที่ “เวียงกุมกาม” และ “นพบุรีนครพิงค์เชียงใหม่” ในปี พ.ศ.๑๘๓๙ โดยการผนวกแคว้นหริภุญชัยและแคว้นโยนกเข้าด้วยกัน โดยมีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ส่วนหริภุญไชยเป็นส่วนกลางด้านศาสนาโดยให้บูรณะพระธาตุหริภุญชัยสร้างมณฑปทรงปรา-สาทที่พญาสัพสิทธิ์สร้างไว้ให้สูงขึ้นเป็น ๓๒ ศอกได้ถวายข้าทาสบริวารแก่วัดพระธาตุหริภุญชัย และสั่งให้กษัตริย์เมืองเชียงใหม่องค์ต่อๆมาทุกพระองค์มีหน้าที่ในการดูแลบูรณะวัดพระธาตุหริภุญชัยสืบต่อมา

          ในปี พ.ศ.๑๙๙๐ สมัยพญาติโลกราชกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ ราชวงศ์มังรายลำดับที่ ๙ ได้อาราธนาพระมหาเมธังกรมาเป็นผู้ควบคุมการบูรณะและเสริมองค์พระธาตุขึ้นใหม่โดยปรับปรุงโดยสร้างพระธาตุจากเจดีย์ทรงปราสาทเป็นทรงพระฆังหรือทรงลังกาตามแบบพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ของเมืองเชียงใหม่โดยก่อเป๋นเจดีย์สูงขึ้นเป็น ๓๒ ศอก กว้างขึ้นเป็น ๕๒ ศอกเป็นรูปทรงที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ในปี พ.ศ.๒๐๕๔ สมัยพระเมืองแก้ว กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ รางวงศ์มังราย ลำดับที่ ๑๑ ได้ทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลที่วัดพระธาตุหริภุญชัยเป็นประจำทุกปี ได้ป่าวร้งโฆษณาเรี่ยไร่ จ่ายซื้อทองบุองค์พระธาตุเจดีย์เป็นทองแดงหนักสิบเก้าแสนแปดหมื่นห้าพันสี่ร้อยบาทสองสลึงแล้วลงรักปิดทองคำเปลว ให้สร้างพระวิหารหลวง แล้วสร้างรั้วรอบพระบรมธาตุ (สัตตบัญชร) ระเบียงหอก ๕๐๐ เล่ม เกรณฑ์กำลังพลรื้อและก่อกำแพงเมืองหริภุญไชยด้วยอิฐในปี ฑ.ศ. ๒๐๕๙ เพื่อป้องกันภัยจากอยุธยา

       จนมาถึงสมับพญากือนา กษัตริย์ล้านาองค์ที่ ๖ ทรงอาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยในปี มาจำพรรษาที่วัดพระยืน พ.ศ.๑๙๑๒ เมืองหริภุญไชยก่อน เมื่อสร้างวัดบุปผาราม(สวนดอก)พระสุมนเถระจึงมาจำพรรษาที่แห่งนี้จนถึงแก่มรณภาพในปี พ.ศ.๑๙๓๒ นับว่าพระสุมนเถระได้มาวางรากฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในเมืองเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางแทนนิกายเดิม(รามัญวงศ์)ที่มีหริภุญไชยเป็นศูนย์กลางแต่เมืองเดิม และในสมัยต่อมาคือ พญาแสนเมืองมา ในราวปี พ.ศ.๑๙๕๑มีพระราชกรณียกิจด้านทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยโปรดให้หุ้มพระบรมธาตุเจดีย์หริภุญชัยด้วยแผ่นทองคำหนักสองแสนหนึ่งหมื่นบาทหรือ ๒๕๒ กิโลกรัม

 

 

“ยุคต้นรัตนโกสินทร์”

          การใช้วิเทโศบายทางการเมืองระหว่างล้านนา (เชียงใหม่) กับสยามประเทศเป็นไปอย่างชิงไหวชิงพริบ เจ้าเมืองฝ่ายเหนือใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะรักษาประเทศล้านนาเอาไว้ แต่มิอาจต้านแรงคุกคามข้างฝ่ายสยามประเทศได้ เนื่องจากสยามได้ใช้วิธีหลายรูปแบบที่จะรวมล้านนาให้เป็นหนึ่งเดียว อาทิ ส่งนักกฎหมายฝรั่งและหมอสอนศาสนาเข้ามาอยู่ในเชียงใหม่ อีกทั้งส่งข้าหลวงสามหัวเมืองมาประจำ

         หลังจากจากที่รัฐบาลส่วนกลางสยามได้เซ็นสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ (สมัยรัชกาลที่ ๔) บริษัทอังกฤษก็มีสิทธิเข้ามาทสัมปทานไม้ในล้านนาได้ เพียงแค่ขออนุญาตต่อเจ้าผู้ครองนครโดยตรงจนเกิดกรณีพิพาทขึ้นหลายครั้งระหว่างเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่กับบริษัททำไม้รัฐบาลกลางเห็นว่าผลประโยชน์การทำไม้กับชาวตะวันตกมีรายได้มหาศาล จึงทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ขึ้น ๒ ครั้ง ในปีพ.ศ.๒๔๑๖ และพ.ศ.๒๔๒๖ เนื้อหาสาระอยู่ที่การลดอำนาจเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ลงไม่ให้เข้ามามีบทบาทด้านสัมปทานได้ พร้อมส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางเข้ามาดูแลเชียงใหม่ และจัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้นที่นี่ในปี พ.ศ.๒๔๓๗ สถานการณ์ครั้งนั้นเป็นเหตุสำคัญให้เกิดการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินขึ้น โดยรวบรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดให้อยู่กับส่วนกลาง ลดบทบาทของเจ้าเมืองฝ่ายเหนือให้น้อยลง ยกเลิกฐานะหัวเมือง ประเทศราชจัดเป็นหน่วยปกครองที่เรียกว่า “มณฑล” โดยส่งข้าราชการจากส่วนกลางเข้ามาปกครองกระทั่งเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ถึงแก่พิราลัย ได้เกิดการแย่งชิงอำนาจขึ้น ท่ามกลางทายาทจึงเป็นโอกาสอันดีของทางส่วนกลางที่จะใช้ฉวยโอกาสข้ออ้างเข้ามาจัดระเบียบการปกครองเมืองลำพูนใหม่ อย่างเบ็ดเสร็จเรียบร้อย

"ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง"หลังจากขับไล่พม่าออกจากเมืองล้านนาแล้ว พญาจ่าบ้านได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ส่วนพญากาวิละให้เป็นเจ้าเมืองลำปางโดยพิธีดังกล่าวทำขึ้นที่วัดพระธาตุหริภุญชัย เชียงใหม่สามารถปกครองตนเองได้ในฐานะเมืองประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม แต่ในขณะเดียวกันพม่ายังไม่หมดอำนาจเสียทีเดียว คอยมาคุกคามเชียงใหม่อยู่ไม่ขาด พญาจ่าบ้านซึ่งมีประชากรอยู่น้อยนิดไม่สามารถต่อสู้กับพม่าได้จึงชักชวนกันทิ้งบ้านเมือง และหนีไปอยู่กับเจ้าเจ็ดตนที่เมืองลำปางเมื่อพญาจ่าบ้านเสียชีวิตลง พระเจ้ากรุงธนบุรีได้แต่งตั้งพญากาวิละขึ้นครองเมืองเชียงใหม่แทนในปี พ.ศ.๒๓๒๕ ซึ่งในขณะนั้นเชียงใหม่เป็นเมืองร้าง พม่ายังมีอิทธิพลอยู่ การที่จะฟื้นฟูเชียงใหม่จึงเป็นปัญหาหนักพญากาวิละจำต้องค่อยๆ รวบรวมไพล่พลให้มั่นคง โดยขอผู้คนจากเมืองลำปางและกลุ่มไพร่เดิมอีกจำนวนหนึ่งใช้ เวียงป่าซาง เป็นฐานะที่มั่นรวบรวมผู้คนซึ่งเรียกว่า “เก็บฮอมตอมไพร่” พญากาวิละใช้เวลารวบรวมชาวบ้านนานถึง ๑๔ ปี จึงจักสามารถเข้าไปฟื้นฟูและตั้งเมืองเชียงใหม่ได้ในปี พ.ศ. ๒๓๘๘ และฟื้นเมืองลำพูนขึ้นมาใหม่แต่งตั้งพญาบุรีรัตน์คำฟั่นเป็นเจ้าเมืองลำพูนชื่อว่า พญาลำพูนชัย และเจ้าบุญมาน้องคนสุดท้องของเจ้าเจ็ดตนเป็นพญาอุปราช โดยนำคนมาจากเมืองลำปาง ๕๐๐ คน จากเมืองเชียงใหม่อีก ๑,๐๐๐ คน และกวาดต้อนคนยองจำนวน ๑๐,๐๐๐ คนให้อยู่ที่เมืองลำพูนตรงข้ามกับพระธาตุเจ้าหริภุญชัย อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำกวงกลุ่มชาวยองเหล่านี้ต่อมาได้เป็นช่างทอผ้า สล่าช่างฝีมือ ผู้มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูวัฒนธรรมล้านนาให้แก่เมืองลำพูน

         นอกจากชาวยองแล้ว ยังมีอีกกลุ่มชนที่เคยกวาดต้อนมาได้สมัยเมื่อพญากาวิละอยู่เวียงป่าซาง คือกลุ่มเมืองแถบตะวันตกริมแม่น้ำคง ได้แก่ บ้านสะต๋อยสอยไร บ้านวังลุง วังกาศ น่าจะเป็นกลุ่มชาวลัวะ ชาวเม็ง อีกกลุ่มคือพวกชาวไตใหญ่จากเมืองปุ เมืองปั่น เมืองสาด เมืองนาย เมืองชวาด เมืองแหน กลุ่มที่ตามมาภายหลังก็คือกลุ่มชาวไตเขินจากเมืองเชียงตุง และทยอยกันเข้ามาอีกระลอกเพื่อหนีภัยสงครามคือกลุ่มไตลื้อในเขตอำเภอบ้านธิ ชาวหลวยจากบ้านออนหลวย ในยุคนี้นักประวัติศาสตร์ขนานนามว่ายุค “เก็บผักใส่ส้า เก็บข้าใส่เมือง” การอพยพยังคงมีมาอย่างต่อเหนื่องจนถึงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาการหลั่งไหลถ่ายเทชาวยอง และชาวลื้อได้สิ้นสุดลงเมื่อมีการกำหนดปักปันเขตแดนประเทศไทย - จีน - พม่า - ลาวอย่างชัดเจน และปัจจุบันเมืองยองขึ้นอยู่กับการปกครองของสหภาพพม่า

 

คำขวัญจังหวัดลำพูน
“พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวี ศรีหริภุญชัย”

 

ตราประจำจังหวัด

 

 

เจดีย์ในดวงตรา หมายถึง พระธาตุหริภุญชัย ซึ่งกล่าวกันว่ามีพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่นับเป็นปูชียสถานสำคัญ เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองและจังหวัดใกล้เคียง

 


image รูปภาพ
 สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำพูน

Line

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar
จำนวนการเข้าชม : 149,147